วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

เพลงพื้นบ้าน กลุ่มเพลงร้องเล่น




เพลงร้องเล่น 4 ภาคกลุ่ม 9,10

นางสาวสุปรียา โวหารดี ปี3 หมู่1 รหัส 57210406120


เเต่งเพลงจากวรรณกรรม เรื่อง นางผมหอม








เนื่อเพลง  อธิษฐานตามหารัก
จากนินทานพื่นบ้าน  เรื่องนางผมหอม
ทำนอง แต่ปางก่อน
ศิลปิน หญิง ธิติการณ์
รอชายมาเคียงคู่มาแสนนาน
 อธิษฐาน ด้ายใจใฝ่หา
ฝากสำเนียง ไปกับคงคา
บอกพี่ยา น้องรออยู่ถ้ำกุญชร
คามรัก นั้นมันจะเป็นเช่นไร
เสี่ยงทาย ด้วยใจเราสอง
ถ้าเราเกิดมาเป็นคู่ครอง
หมายปอง ความรักนิรันดร์
ขอพรเทพไท้เทวา
พบพา ผู้ชาย คนนั้น
อยู่แห่งไหนๆ  ขอให้เจอกัน
ดวงจิตผูกพันธ์ รักมั่นมีเพรียงสองเรา
คงเป็นรอยบุญ ให้มาพบพา
ภาวนาเป็นจริงสมดั่งใจหมาย
สองเราจะได้อยู่คู่เคียงกาย
สองดวงใจนั้นมีความสุขสมดังรอคอย
         นางสาว สุปรีย โวหารดี
   ปี3 หมู่1 รหัส57210406120

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

สรุป การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง นางผมหอม

                     

                ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์งานวรรณกรรมนิทาน

 เรื่อง นางผมหอม

เรื่องย่อ

              สามีภรรยา คู่หนึ่งอยากมีบุตร นางมีชื่อว่า นางเเมน นางแมนเเละสามีได้ไปขอพรจากเทวดา ขอให้ตนนั้นมีบุตรสืบทอดตระกลู หลายวันต่อมานางจึงตั้งครรภ์ ลูกในครรภ์ของนามเเม้น นั้นเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรรค์ เมื่อหมดหมดเเล้ว เทวดาจึงสั่งให้มาเกิดในครรภ์ของนามแม่น  เป็นหญิงรูปงามชื่อว่า สีดา  เมื่อนางสีดาอายุครบ 16 ปี จึงอยากออกเที่ยวชมป่า นางแมนเเละสามีค่อยห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง จึงให้ทหารและนางสนมออกไปเป็นเพื่อนพอไปถึงป่าเขา ใกล้ลำธารใหญ่ นางสีดาเเละสนมก็ได้ลงเล่นน้ำอย่างสบายใจ ทหารที่ค่อยเฝ้าเหลือบมองไปเห็นยักษ์ ก็รับบอกนางสีดาเเละสนมทั้งหลายวิ่งหนีเพราะกลัวว่าจะเป็นอาหารของยักษ์ บ้างก็วิ่งเข้าไปในป่าลึก บ้างเเอบซ่อนอยู่ใต้โคลนต้นไม้ใหญ่ เมื่อยักษ์ตนนั้นหายไป ทหารเเละสนมก็ตามหานางสีดาแต่หาเท่าไรก็หาไม่เจอจึงรีบกลับเมื่องเพื่อบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผู้เป็นพ่อเเละเเม่ของนางสีดา  นามแมนเเละสามีรำไห้และ ได้สั่งนางสนมไปตาม โหรมาทำนาย เพื่อตตามนางนางสีดา โหรจึงกล่าวออกไปว่านางสีดายังมีชีวิตอยู่ อีก 2-3 วันเดี๋ยวนางก็กลับมาเอง เมื่อใด้ยินเช่นนั้น นางแมนเละสามี พร้อมทั้งไพร่พลทหารก็ดีใจ  
          นางสีดาเมื่อรู้สึกตัวก็ไม่เห็นใครอยู่กับตนแล้วจึงหาทางกลับบ้านเมื่องของตนเองระหว่าเดินทางนั้นนางก็กินผลไม้ไปตามนาง เล้วเกิดหิวน้ำ จึงไปเห็นรอยเท้าของวัวกะทิงจึงกล้มลงไปกินน้ำในรอยเท้าของวัวกะทิง เเต่นางไม่สดชื้นขึ้นมาเลยกลับคอเเห้งและเหนื่อยล้า พอเดินไปเรื่อยๆนางก็เห็นรอยเท้าของช้างที่มีน้ำขังยุเช่นกันนางจึงกล้มลงไปกอนในในรอยเท้าของช้าง ทำให้นางลดชื้นขึ้นมาและมีเเรงเดินจึงเห็นบ้านเมืองของตนเมื่อนางสีดาเดินมาถึงเมืองพร้อมกับสนมคอยตอนรับเป็นอย่างดี ทุกคนต่างดีใจ หลังจากกลับจากป่าได้ นางก็ท้อง ผู้เป็นพ่อเเละแม่ ค่อนซักถามถึงพ่อของเด็กในท้อง นางก็เล่าเรื่องราวที่นางอยู่ในป่าให้พ่อและเเม่ฟัง ถามอย่างไรก็ไม่ได้คำตอบ จนนางสีดาคลอดลูกเป็นแฝดหญิง คนพี่ชื่อนางผมหอม ที่ชื่อว่าผมหอม เพราะ เมื่อออกจากครรภ์ก็มีผมที่มีกลิ่นหอม ส่วนคนน้องชื่อว่านางลุน ที่ได้ชื่อ ว่านางลุน เพราะ ออกทีหลัง  นางลุนมีนิสัยชอบรังเเกพี่สาวของตนเองซึ่งมีนิสัยต่างจากนางผมหอม   นางผมหอมเเละนางลุนโตมาด้วยกันเมื่อมีอายุได้ 14 ปี ก็ค่อยถามนางสีดาว่าพ่อของตนเป็นใคร  เวลาออกไปเล่นกับเพื่อน เพื่อนก็ล้อว่าเป็นลูกช้าง ลูกกระทิง เพราะได้ยินคนอื่นเลาต่อกันมา  นางผมหอมเเละนางลุน จึงของผู้เป็นเเม่ เพราะอยากออกไปตามหาพ่อของตนเองว่าเป็นอย่างที่ชาวบ้านผู้จริงหรือไม่ แม่ห้ามอย่างไร นางผมหอมเเละนางลุนก็ยืนยันว่าจะออกไปป่า  เมื่อนางผมหอมและนางลุนออกเดินป่าและเห็นรอยเท้าช้าง จึงเดินตามร้อยเท้าช้างไปเรื่อยๆจนถึงป่าลึก นางทั้งสองเจอกับช้างเจ้าพญาตัวใหญ่แล้วจึงเล่าเรื่องราวให้พญาช้างสารฟัง เมื่อพญาช้างได้ฟังก็คิดว่านางทั้งสองจะเป็นลูกของตน พญาช้างจึงอธิษฐาน หากใครเป็นลูกของตนจริงขอให้เหยียบงาขึ้นมานั่งที่คอได้อย่างง่ายดาย เมื่ออธิษฐานเสร็จ ก็บอกให้นางทั้งสองปีนงาของตน  นางลุนพูดกับนางผมหอมเพื่อจะขอขึ้นก่อน แต่นางลุนปีนขึ้นไปกี่ครั้ง ๆ ก็หล่นลงมาที่พื้นดิน เเต่นางผมหอมปีนเพียงครั้งเดียวก็ไปนั่งอยู่บนคอ พญาช้างจึงเชื่อว่านางผมหอมเป็นลูกของตน พญาช้างสารจึงใช้เท้าเหยียบนางลุนตายแล้วพานางผมหอมไปอยู่ในหอโคงที่พญาช้างอาศัยอยู่ เเละคอยหาอาหารมาให้นางผมหอม ระหว่างพณาช้างออกไปหาอาหาร จึงพบเด็กทั้งสองหลงทางเข้ามาในป่าจึงนำเด็กทั้งสองไปอยู่เป็นเพื่่อนลูกของตน นางผมหอมได้อยู่กับเด็กทั้งสองจนผูกพันธ์หลายวันต่อมาจึงพกันไปอาบน้ำที่ลำธารนางผมหอมจึงเขียนจดหมายเเละนำเส้นผมของตนใส่ผอบเเล้วอธิษฐานหากใครเป็นคู่ครองของตนของงให้เก็บผอบนี้เเล้วตามเส้นผมหามานาง เมื่อผอบลอยตามลำธารไปถึงเมืองต่างๆก็ไม่มีใครสามารถจับผอบนั้นได้ เมื่อเจ้าชายผู้หนึ่ง  มีชื่อว่า พระทะรังสิทธิ์ เห็นผอบก็หยิบมาดูเมื่อเห็นจดหมายในผอบก็เดินทางตามมหานางผมหอม จนถึงหอโคง พระทรังสิทธิ์ได้พบกับนางผมหอมจึงตกหลุมรักเเล้วเเอบบอยู่ด้วยกันระหว่งที่พญาสารสารออกไปหาอาหาร  ผ่านไป 7 เดื่อน พญาช้างก็เริ่มสงสัยนางมหอม เพราะได้กลิ่นตัวผู้ชาย  เเต่นางก็ไม่บอกความจริงต่อพญาช้าง จนนางได้ลูก 2 คน หญิงเเละชาย ลูกชาย ชื่อว่า สีลา ส่วนผู้หญิง ชื่อว่า ชาฎา 
            เมื่อนางผมหอมบอกความจริงกับพญาช้างผู้เป็นพ่อ เพื่จะกลับบ้านเมื่องของตนเอง แล้วให้สามีไปส่งสนมทั้งสองกลับบ้าน ตนเเละสามีก็จะกลับบ้านเมืองเช่นกัน พญาช่างสารจึงนำงาของตนให้นางผมหอมเเละสามี งานทั้งสองกลายกลายเป็นเรือ เเละ พาย นางเเละสามีพร้อมลูกเดินทางไปเรื่อยๆเมื่อถึงกลางลำธารลูกทั้งสองนั้นอยากได้ดอกบัว  แต่มีผีพรายนั้นคอยจ้องอยู่ จึงเกิดการต่อสู้กันกลางลำธาร ผีพรายเเปลงร่างเป็นนางผมหอมและทำให้นางผมหอมตกเรือ  พระทะรังสิทธิ์ไม่รู้ว่าที่นั่งเรือไปกับตนนั้นเป็นผีพรายจนไปถึงเมือง  เเต่เมื่อพระทะรังสิทธิ์รู้ความจริง เพราะผีพรายไม่มีผมที่หอมเหมือน นางผมหอมเมียของตน จึงออกตามหานางผมหอม กลับเมือง  และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
  

ที่มาเเละความสำคัญ

              เรื่อง นางผมหอม เป็นตำนานนิทานพื้นบ้าน หรือเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา  เเบบมุขปาฐะเเล้วจึงนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร หนังสือนิทานพื้นบ้าน
   ต้นฉบับ :  นิทานนางผมหอม เป็นคำกลอนโบราณภาษาอีสาน เป็นเรื่องจรจัด ลำบาก เดินป่า น่าสงสาร รวมในเรื่องนางผมหอม  

   ผู้เเต่ง :  เตชวโร ภิกขุ (อินตา กวีวงศ์)
   ปีที่พิมพ์  :  2547
  จัดพิมพ์   : บริษัท ขอนเเก่น คลังนานาธรรม จำกัด 
   จำหน่ายที่  :  บริษัท ขอนเเก่น คลังนานาธรรม จำกัด  161/6-8 ตรงข้ามตลาดสดเทศบาล 1  ข้าง                            โรงเรียน กัลยาณวัตร ถนนกลางเมื่อง  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนเเก่น 40000 

วิเคราะห์เนื้อหา

        1.  วิเคราะห์ชื่อเรื่อง : นิทานนางผมหอม ตั้งชื่อเรื่องมาจากตัวละครที่มีผมที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นการตั้งชื่อของคนในสมัยก่อนที่มีความเชื่อต่างๆมากมาย เช่นนางผมหอม เมื่อคลอดออกมาก็มีกลิ่นผมที่หอม หรือ คนที่ชื่อเอื้อย อาจจะเป็นคนที่เกิดก่อน เช่นเดียว กับนางลุนในเรื่องนางผมหอม  ที่ชื่อลุนเพราะว่าเกินที่หลัง เป็นต้น
       2. เเก่นเรื่อง : คนดีจะอยู่ที่ไหนก็ไม่ลำบาก มีคนช่วยเหลือเลี้ยงดู
      
       3. โครงเรื่อง 
               -โครงเรื่อง นางผมหอมและนางลุนออกเดินทางเพื่อตามหาพ่อ ถึงแม้จะพบพ่อของนางผมหอมเเต่นางลุนผู้เป็นน้องก็ต้องตายจาก นางผมหอมก็มีความสุขเพียงชั่วขณะเพราะนางต้องสู้ทนลำบากกับผีร้ายที่จ้องจะทำร้ายนาง แต่ด้วยผลเเห่งความดีก็ทำให้นางได้กลับมาครองรักกับคนรักเช่นเดิม
         
               -เปิดเรื่อง กล่าวถึงนางเเมน อยู่ที่นครศรีอยากมีบุตรไว้สืบสกุลครองเมื่อง เทวดาจึงส่งนางสีดาลงมาเกิดในครรภ์

              -ปมในเรื่อง นางลุนผู้เป็นน้องที่ตกจากงาพญาช้างสารตาย จนได้ไปเป็นผีโพงแล้วเเปลงกายเป็นนางผมหอมเพื่ออจะได้อยู่กับเจ้าชายทะรังสิทธิ์สามีของนางผมหอม
         
              -ปิดเรื่อง  นางผมหอมกับเจ้าชายทะรังสิทธิ์ ครองรักกันอย่างสมหวัง


วิเคราะห์ตัวละคร

      1. ตัวละครหลัก
                - นางผมหอม  เพศ        หญิง 
                                         สถานะ    ไม่ปกติ  (เป็นลูกของคนเเละช้าง)
                                         ลักษณะ  เป็นหญิงรูปงาม มีผมที่มีกลิ่นหอมเเต่กำเนิด มีนิสัย อ่อนโยน จิตใจดี
             
                -นางลุน          เพศ         หญิง       
                                        สถานะ    ไม่ปกติ  (เป็นลูกของคนเเละวัวกะทิง)
                                        ลักษณะ  เป็นหญิงรูปงาม มีนิสัยก้าวร้าว  ไม่เชื่อฟังใคร
         
              -นางสีดา          เพศ        หญิง
                                       สถานะ     ปกติ  
                                       ลักษณะ   เป็นหญิง  (แม่ของ นางผมหอม และนางลุน) 
  
              -นางแมน         เพศ        หญิง
                                       สถานะ     ปกติ  
                                       ลักษณะ   เป็นหญิง  (แม่ของ นางสีดา) 
         
             -พญาช้างสาร  เพศ        ชาย
                                       สถานะ    ไม่ปกติ  (ช้างป่า)
                                       ลักษณะ   ช้างป่าตัวใหญ่

            -พระทะรังสิทธิ์   เพศ        ชาย
                                       สถานะ    ปกติ  
                                       ลักษณะ   เป็นชายรูปงาม  เเห่งเมื่องเป็งจาง

    2. ตัวละครรอง
           
              - สามีนางแมน (ไม่มีชื่อ)   เพศ        ชาย
                                                          สถานะ    ปกติ  
                                                          
              - ลีลา                เพศ        ชาย
                                       สถานะ    ปกติ  (ลูกชายของนางผมหอมกับพระทะรังสิทธิ์)
                                       ลักษณะ   เป็นเด็กชายรูปงาม 
             - ชาฎา              เพศ        หญิง
                                       สถานะ    ปกติ    (ลูกสาวของนางผมหอมกับพระทะรังสิทธิ์)
                                       ลักษณะ   เป็นเด็กหญิงรูปงาม น่ารัก
           
              - ผีพราย          เพศ        หญิง
                                       สถานะ    ไม่ปกติ    
                                       ลักษณะ   เป็นผีพราย น่ากลัว เจ้าเล่ห์


ฉากสถานที่         

                 ฉากหลัก  คือ ป่า                                                                                                                                          นางลุนเเละนางผมหอมออกตามหาพอของตนเองในป่าใหญ่  จนนางลุนนั่นตายในป่าโดยพญาช้างทำร้าย เเละนางผมหอมอาศัยอยู่กับพญาช้างในป่าเป็นเวลาหลายปี 

                 ฉากรอง คือ เมืองเป็งจาล เเละ เมื่องนครศรี                                                                                             -เมื่องเป็งจางเป็นเมื่องของเจ้าชายทะรังสิทธิ์                                                                                            -เมืองนครศรีเป็นบ้านเมื่อนของนางแมน ผู้เป็นเเม่ของนางผมหอม

  ความโดดเด่นของวรรณกรรม

             ด้านเนื้อหา : สะท้อนให้เห็นถึงบาปบุญคุญโทษ การกระทำ เช่น นางผมถึงเเม้ต้องพลัดพราก    จากสามีเเละลูก เเต่ก็ยังอาศัยอยู่ในป่ากับสัตว์ที่เป็นมิตรกับนางเเละคอยช่วยเหลือนางมาตลอด
              ด้านตัวละคร  : นิทานเรื่องนางผมหอม  ตัวละครจะเป็นตัวดำเนินเรื่อง   เช่น
                -นางลุน เป็นหญิงที่ มีนิสัยชอบรักเกคนอื่น    ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังใคร  นางพยามยามอ้างตนเองว่าเป็นลูกพญาช้าง เพื่อให้พญาช้างรับตนเองไปเป็บลูกแล้วให้ฆ่าพี่สาวของตนเอง                                                  -นางผมหอม เป็นหญิงงาม เเละมีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใคร คือมีผมที่มีกลิ่นหอม กว่าหญิงอื่นใด                                                                                                                          

               ด้านการใช้ภาษา : นิทานนางผมหอม ผู้เเต่งใช้ภาษาอีสานในเขียนการดำเนินเรื่อง เเละยังเขียนเป็นคำกลอนอีสาน ประเภทกลอนสุภาพ กลอนสุภาพหรือกลอนเเปดนับว่าเป็นกลอนหลัก เพราะเป็นหลัก ของบรรดากลอนทุกชนิด ถ้าเข้าใจกลอนสุภาพ เป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้โดยง่ายนั่นเอง

การนำมาประยุกต์ใช้ 

       1. ละครพื้นบ้าน


       
            2. นิทานพื้นบ้าน



             3. ลำเรื่องต่อกลอน


การสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนการสอน                                                                   
               - สื่อสไลด์ เรื่องนางผมหอม

 สรุปภาพ Infographics